วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หมายเหตุ


*หมายเหตุ

เวลาเรียนทั้งหมด 14 ครั้ง
ยกคลาส 3 ครั้ง
เรียนชดเชย 1  ครั้ง
รวมเวลาเข้าเรียน 11 ครั้ง
*ดิฉันบันทึกบล็อกเฉพาะเวลาเข้าเรียนเท่านั้น  บันทึกทั้งหมด 11 ครั้ง ตามเวลาเข้าเรียน









บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


Lesson learned 11
 28/04/2016




The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)



โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล 
(Individualized Education Program)

- แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้   เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก


IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล


ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ


ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง


2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน


4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล



ตัวอย่างแผน IEP



กิจกรรมในห้องเรียน

ครูให้วาดจุดไปเลื่อยๆโดยใช้สีเทียนในการวาด วาดเป็นวงกลมจนกว่าจะพอใจ  การทำกิจกรรมนี้บอกถึงนิสัย และอารมณ์ส่วนตัว
พอวาดเสร็จก็นำไปติดบนต้นไม้ที่ครูได้เตรียมไว้ให้













การนำไปใช้ (Application)

 นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอน และนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตเพื่อรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น รู้ถึงสาเหตุของโรคที่เกดิดขึ้น

assessment (ประเมิน)

Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด เย็นสบายจนเกินไป  มีความเป็นระเบียบ
Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี  มีสมาธิ
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา
Evaluating teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างให้ดูอย่างชัดเจนโดยใช้กิจกรรมเข้ามาทำให้เข้าใจง่ายขึ้น



บันทึกการเรียนครั้งที่ 10



Lesson learned 10 
22/04/2016



The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)


การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
ที่มีความต้องการพิเศษ

-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-เกิดผลดีในระยะยาว
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน 
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)


-การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
-เครื่องโอภา (Communication Devices)
-โปรแกรมปราศรัย




การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

2. ทักษะภาษา  
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเองเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่ 
-การเข้าห้องน้ำ 
-การแต่งตัว 
-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียนการช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นจัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-อยากสำรวจ อยากทดลองการวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

-อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม




การนำไปใช้ (Application)

 นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอน และนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตเพื่อรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น รู้ถึงสาเหตุของโรคที่เกดิดขึ้น

assessment (ประเมิน)

Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด เย็นสบายจนเกินไป  มีความเป็นระเบียบ
Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี  มีสมาธิ
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา
Evaluating teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างให้ดูอย่างชัดเจนโดยใช้กิจกรรมเข้ามาทำให้เข้าใจง่ายขึ้น



วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9



LESSON LEARNED 9 

1/04/2016





The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)


  การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



รูปแบบการจัดการศึกษา

การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)




การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้

และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม

กับความต้องการพิเศษของเขา


ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม 

(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป


มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน

ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน



การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)

การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา

เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ

เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้


การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน

เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ






Wilson , 2007


การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก

การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน



บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้


ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
 เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
 ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป


การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง ให้รายละเอียดได้มาก
เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกลงบัตรเล็กๆ
เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง




กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน


วาดภาพดอกบัวตามสิ่งที่เราเห็นเเละอธิบายภาพดอกบัว












การนำไปใช้ (Application)

 นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอน และนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตเพื่อรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น รู้ถึงสาเหตุของโรคที่เกดิดขึ้น

assessment (ประเมิน)

Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด เย็นสบายจนเกินไป  มีความเป็นระเบียบ
Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี  มีสมาธิ
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา
Evaluating teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างให้ดูอย่างชัดเจนโดยใช้กิจกรรมเข้ามาทำให้เข้าใจง่ายขึ้น